You are currently viewing รู้จักกับหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)

รู้จักกับหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)

รายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา

คำอธิบายชุดวิชา
99705 ระบบอัตโนมัติของเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 6(12-2-2-2)

Network Automation and Cyber Security

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติของเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบอัตโนมัติของเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ด้านระบบอัตโนมัติของเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ไปสู่การปฏิบัติได้

คำอธิบายชุดวิชา

หลักการเกี่ยวกับโพรโทคอลเครือข่าย การกำหนดค่าระบบปฏิบัติการเครือข่าย หลักการออกแบบซอฟต์แวร์สำหรับระบบอัตโนมัติของเครือข่าย การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบอัตโนมัติของเครือข่าย โครงสร้างพื้นฐานระบบอัตโนมัติของเครือข่าย การบริหารจัดการและการประยุกต์ใช้งานระบบอัตโนมัติของเครือข่าย แนวคิดด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ความมั่นคงปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงของการสื่อสารและเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งสำหรับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ นโยบายและมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การออกแบบและการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การประยุกต์ระบบอัตโนมัติของเครือข่ายสำหรับความมั่นคงปลอดภัย กฎหมายและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และกรณีศึกษา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ: –

99708 ระเบียบวิธีวิจัยและเครื่องมือในการพัฒนาระบบด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 6(12-2-2-2)    

Research Methodology and Tools in System Development for Digital Technology   

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยและเครื่องมือในการพัฒนาระบบด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

2. เพื่อให้สามารถนำความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยและเครื่องมือในการพัฒนาระบบด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ไปประยุกต์สำหรับเป็นแนวทางของวิทยานิพนธ์หรือหัวข้อโครงการวิจัยได้

คำอธิบายชุดวิชา

        แนวคิดการวิจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดหัวข้องานวิจัยครอบคลุมเทคนิควิธีการเก็บรวบรวมความต้องการ การวิเคราะห์ การออกแบบ การจัดทำนโยบาย การจัดสร้างระบบ/แบบจำลอง การประเมิน การบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศ การบริหารโครงการ      การวางแผนโครงการ การบริหารทรัพยากรโครงการ และกรณีศึกษา งานวิจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หลักการดำเนินการวิจัย สถิติและการประเมินสำหรับการวิจัย การสรุป/อภิปรายผลการวิจัย การจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการและการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จริยธรรมและความรับผิดชอบของผู้วิจัยที่มีต่อตนเอง และสังคม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ: –

99710 เทคโนโลยีการสื่อสารและระบบนิเวศโครงสร้างพื้นฐาน 6(12-2-2-2)

Communication  Technology and Infrastructure Ecosystems

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเทคโนโลยีการสื่อสาร
2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเทคโนโลยีการสื่อสาร

3. เพื่อให้ประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารและระบบนิเวศโครงสร้างพื้นฐานสำหรับบริการดิจิทัลต่างๆ ได้

คำอธิบายชุดวิชา

        หลักการและทฤษฎีต่างๆ ของเทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีเคลื่อนที่ไร้สาย เทคโนโลยีแบบใช้สาย เทคโนโลยีเครือข่าย ระบบนิเวศโครงสร้างพื้นฐานและสถาปัตยกรรมเครือข่ายการสื่อสาร การประมวลผลข้อมูล การบริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่ ระบบนิเวศไอโอที โครงสร้างพื้นฐานและโพรโทคอลการค้นหาการบริการสำหรับระบบนิเวศอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โครงข่ายตัวตรวจจับและตัวกระตุ้น การสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร  การบูรณาการเทคโนโลยีสื่อสารดิจิทัลและเครื่องมือสำหรับระบบนิเวศ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่และระบบคลาวด์สำหรับการประยุกต์ สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับออกแบบและพัฒนาการบริการดิจิทัล
 
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ: –
 

99711 วิทยาการข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่ 6(12-2-2-2)
Data Science and Big Data

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่
2. เพื่อให้สามารถประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญได้

คำอธิบายชุดวิชา

หลักการของวิทยาการข้อมูล  ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติสำหรับวิทยาการข้อมูล การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิทยาการข้อมูล ฐานข้อมูลโนเอสคิวแอล หลักการและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์เชิงทำนายข้อมูลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เหมืองข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง การเรียนรู้เชิงลึก และปัญญาประดิษฐ์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ หลักการธุรกิจอัจฉริยะและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ หลักการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอด้วยภาพ และกรณีศึกษา​

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ:

99712 ปัญญาประดิษฐ์และการประยุกต์ 6(12-2-2-2) Artificial Intelligence and Applications

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีปัญญาประดิษฐ์
2. เพื่อให้สามารถประยุกต์ความรู้ปัญญาประดิษฐ์ได้

คำอธิบายชุดวิชา

หลักการ และทฤษฎีปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น การแก้ปัญหาด้วยปัญญาประดิษฐ์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สำหรับปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง การเรียนรู้เชิงลึก โครงข่ายประสาทเทียม การวิเคราะห์ข้อความและการประมวลผลภาษาธรรมชาติ  การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ การรู้จำและการวิเคราะห์เสียง คอมพิวเตอร์วิทัศน์ ชีวสารสนเทศศาสตร์ การวิเคราะห์ข่าวกรองความปลอดภัยไซเบอร์ ดาตาวิชวลไลเซชันสำหรับวิเคราะห์ธุรกิจ และกรณีศึกษา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ:

99713 การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงกลยุทธ์ 6(12-2-2-2) Strategic Digital Technology Management

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงกลยุทธ์
2. เพื่อให้มีความสามารถประยุกต์ด้านการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงกลยุทธ์ได้

คำอธิบายชุดวิชา

แนวคิดและหลักการของการปรับเปลี่ยนองค์กรบนพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล แบบจำลองอ้างอิง  การวางแผนยุทธศาสตร์และกำหนดกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความสอดคล้องเชิงกลยุทธ์ของเทคโนโลยีดิจิทัลกับกลยุทธ์ของธุรกิจ การออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร กระบวนการการคิดเชิงออกแบบ การออกแบบบริการเพื่อประสบการณ์ที่ดี การสร้างนวัตกรรมบริการที่มีคุณค่าไปสู่ผู้ใช้อย่างยั่งยืน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การตลาดดิจิทัล ธุรกรรมดิจิทัล แพลตฟอร์มดิจิทัล การเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัล วุฒิภาวะด้านดิจิทัล  กรอบงานสำหรับการประเมินสถานภาพขององค์กรตามมาตรฐานและธรรมภิบาลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ธรรมาภิบาลข้อมูล การบริหารจัดการการให้บริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และกรณีศึกษาการปรับเปลี่ยนทางเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งของภาครัฐและเอกชน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ:

99714 ระบบไซเบอร์กายภาพและการประยุกต์ 6(12-2-2-2) Cyber-Physical System and Applications

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีระบบไซเบอร์กายภาพ
2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์เทคโนโลยีระบบไซเบอร์กายภาพสำหรับนวัตกรรมดิจิทัลในด้านต่างๆ ได้

คำอธิบายชุดวิชา

พื้นฐาน หลักการ และแนวคิดของระบบไซเบอร์กายภาพ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับระบบไซเบอร์กายภาพ การปฏิสัมพันธ์และการบริการจัดการส่วนต่อประสานของระบบไซเบอร์กายภาพ การควบคุมและการออกแบบระบบไซเบอร์กายภาพสำหรับระบบอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆสำหรับระบบไซเบอร์กายภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับระบบไซเบอร์กายภาพ มาตรฐานของระบบไซเบอร์กายภาพ และการประยุกต์ใช้งานของระบบไซเบอร์กายภาพสำหรับนวัตกรรมดิจิทัลในด้านต่าง ๆ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ:

99797 การศึกษาค้นคว้าอิสระ Independent Study (6 หน่วยกิต)

วัตถุประสงค์ 

เพื่อให้นักศึกษา

1. มีทักษะและประสบการณ์ในการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการศึกษาจากชุดวิชาต่างๆ ในหลักสูตตรและแหล่งประโยชน์อื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้งานได้
2. สามารถศึกษาวิจัยปัญหาทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ/หรือหัวข้อที่นักศึกษาสนใจเป็นพิเศษ และเกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ

คำอธิบายชุดวิชา

การเลือกปัญหาสำหรับการวิเคราะห์หรือวิจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การเขียนโครงการค้นคว้าอิสระ การเสนอโครงการค้นคว้าอิสระ การวิเคราะห์วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำการวิเคราะห์ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล การสรุปผล การเขียนรายงานการค้นคว้าอิสระ และการเผยแพร่งานวิจัยการศึกษาค้นคว้าอิสระที่ได้มาตรฐาน

99798 วิทยานิพนธ์ Thesis (6 หน่วยกิต)

วัตถุประสงค์ 

เพื่อให้นักศึกษา

1. สามารถเลือกปัญหาการวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์ได้
2. สามารถสำรวจและวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิทยานิพนธ์ได้

3. สามารถออกแบบการวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์ได้

4. มีความรู้และทักษะในการเขียนและเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ได้
5. สามารถพัฒนาเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ

6. สามารถพัฒนาเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพได้
7. สามารถรวบรวม วิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลสำหรับวิทยานิพนธ์

8. สามารถนำเสนอและสอบปกป้องวิทยาพนธ์
9. สามารถเขียนรายงานวิทยานิพพนธ์ฉบับสมบูรณ์

10. สามารถเขียนรายงานการวิจัยเพื่อการเผยแพร่

 

คำอธิบายชุดวิชา

การเลือกปัญหาการวิจัย การสำรวจและวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัย การเขียนและเสนอโครงการวิทยานิพนธ์  การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูลวิทยานิพนธ์ การนำเสนอและสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ การเขียนรายงานวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อการเผยแพร่

99799 การอบรมเข้มเสริมประสบการณ์มหาบัณฑิตเทคโนโลยีดิจิทัล (ไม่หน่วยกิต)

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อให้มีความรู้และประสบการณ์ที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
2. เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำในวิชาชีพเทคโนโลยีดิจิทัล

3. เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ

4. เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
5. เพื่อเพิ่มพูนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพ

คำอธิบายชุดวิชา

การวิเคราะห์ การจัดองค์การด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหา การจัดการ และการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการและแก้ปัญหากรณีศึกษาต่างๆ การพัฒนาภาวะผู้นําในวิชาชีพ การทํางานร่วมกันเป็นหมู่คณะ การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาวิชาชีพ